Part of speech คืออะไร สรุป parts of speech อย่างละเอียดเข้าใจง่ายสุด
Part of speech คือ อะไร มีกี่ประเภท และมีหน้าที่ทำอะไรในหลักแกรมม่า : สรุป part of speech ให้เห็นภาพก่อนคร่าวๆนะครับว่า มันส่วนของคำพูด หมายความว่าคําในภาษาอังกฤษที่เราสื่อออกไปนั้น ประกอบไปด้วยชนิดของคำ หรือประเภทของคําตางๆนั่นเอง
♥ เนื้อหา Part of Speech
- Part of speech คืออะไร
- Part of speech หน้าที่คืออะไร
- Part of speech มีกีชนิดหรือกี่ประเภท
- Part of speech ที่ต้องเรียนรู้พลาดไม่ได้
♦ Part of Speech คืออะไร
- Part อ่านว่า พ๊าท แปลว่า ส่วน, ชิ้นส่วน
- of ออฟ แปลว่า ของ
- Speech คือ คำพูด
ตามหลักแกรมม่าแล้ว Part of Speech ภาษาอังกฤษ แปลว่า “ส่วนของคำพูด” แต่ความหมายจริงๆของมันคือ ประเภทของคำหรือชนิดของคำนะครับ ก่อนจะสรุปว่า Part of speech คืออะไร ลองมาอ่านประโยค part of speech ง่ายๆเหล่านี้ก่อนนะครับ
→ My name is Tom. (นาม)
→ I am American. (สรรพนาม)
→ I’m tall and slim. (คุณศัพท์)
→ I can play tennis. (กริยา)
→ And I can run fast. (กริยาวิเศษณ์)
→ I love Thailand and Thai people. (สันธาน)
→ It’s hot in April. (บุรพบท)
→ Well!! I must go now. Bye. (อุทาน)
ตัวดำๆหนาๆไหมครับ นั่นคือคำชนิดต่างๆครับผม ดังนั้นสรุปได้ว่า part of speech คือ คำประเภทต่างๆ ซึ่งมีด้วยกัน 8 ชนิด
◊ Part of Speech เขียนอย่างไรให้ถูก
เนื่องจากการเรียนหลักแกรมม่า ทุกคนจะต้องรู้จักคำว่า parts of speech เป็นด่านแรก แต่หลายคนยังเขียนไม่ค่อยถูกกัน บ้างก็เขียนว่า path of speech แปลว่า “หนทางของคำพูด” บ้างก็เขียนว่า past of speech แปลว่า “อดีตของคำพูด” บ้างก็เขียน part of speed แปลว่า “ส่วนของความเร็ว” บางคนหนักกว่าเขียนว่า past of speed แปลว่า “อดีตของความเร็ว”
ส่วนคำว่า parts of speech เมื่อเราจะสื่อความหมายว่ามันมีถึง 8 อันนะ นั่นคือ The eight parts of speech คือ คำพูดทั้ง 8 ชนิด
♦ Part of speech หน้าที่คืออะไร
เนื่องจากเรารู้ความหมายแล้วว่า part of speech คือคำทั้ง 8 ชนิด ดังนั้นหน้าที่ของมันหลักๆก็คือการรวมตัวกันเป็นวลี หรือประโยคเพื่อใช้ในการสื่อสารดังตัวอย่างเนื้อหาด้านบน ซึ่งคำแต่ะละประเภทก็มีหน้าที่ Functions แตกต่างกันกันออกไปเช่น noun ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมของประโยค verb ทำหน้าที่บ่งบอกการกระทำของประธานpreposition ทำหน้าที่เชื่อมคำ เป็นต้น
การจะเรียนรู้เรื่อง part of speech อย่างละเอียด ไม่ใช่เรื่องที่จะเรียนวันเดียวให้เข้าใจได้ทั้งหมด เพราะมีทั้งเรื่องหลักๆ และรายละเอียดหยุมหยิมมากมาย ดังนั้นค่อยๆเรียนรู้ทำความเข้าใจไปทีละอย่างนะครับ
♦ Part of speech มีกีชนิดหรือกี่ประเภท
อย่างที่เกริ่นนำไปแล้วว่า part of speech มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่
1. Noun (คำนาม) คือคำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ (รวมถึง ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่)
- คน เช่น boy girl man student doctor king father/ John Sam Ted Tom
- สัตว์ เช่น dog cat bird tiger / Simba Kitty
- สิ่งของ เช่น TV radio fan car soap / Sony Samsung Lux
- สถานที่ เช่น market bank city country / London Thailand England
2. Pronoun (สรรพนาม) คือ คำที่ใช้แทนคำนามด้านบน เช่น I you he she it this that
3. Adjective (คุณศัพท์) คือคำที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เช่น tall short small big
4. Verb (กริยา) คือคำที่ใช้แสดงการกระทำ เช่น go come run walk
5. Adverb (กริยาวิเศษณ์) คือคำที่ใช้อธิบายการกระทำว่าทำอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เช่น fast slowly here there today yesterday
6. Conjunction (คำสันธาน) คือคำที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยค เช่น and but or so
7. Preposition (คำบุรพบท) คือคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ของคำ เช่น in on at by from
8. Interjection (คำอุทาน) คือคำที่ใช้แสดงอารมณ์ตื่นเต้น ดีใจ เสียใจ เช่น wow eh um
♦ Part of speech ที่ต้องเรียนรู้พลาดไม่ได้
- หัวข้อรองคือ 5 6 7 8 เพราะไม่มีอะไรซับซ้อน คล้ายภาษาไทยเลย
- 4 ข้อแรกต้องศึกษาให้ละเอียดแจ่มแจ้งหน่อย เพราะกฎเกณฑ์ต่างจากภาษาไทยค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งหัวข้อที่ควรศึกษามีรายละเอียดดังนี้
1. คำนาม
- นามทั่วไป กับนามเฉพาะ (เรียนผ่านแล้วผ่านเลย ไม่สำคัญเท่าไหร่)
- นามเอกพจน์ พหูพจน์ (เรียนให้เข้าใจ จำให้ได้) เพราะ
– การเปลี่ยนเอกพจน์ให้เป็นพหูพจน์มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าคำนั้นมีพยัญชนะตัวใดลงท้าย เช่น s, sh, ch, x, o, y, f เป็นต้น
– นามพหูพจน์บางตัวไม่เปลี่ยนรูปเลย ไม่ว่าเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ เช่น deer sheep fish
– นามบางตัวลงท้ายด้วย s ซึ่งน่าจะเป็นพหูพจน์ แต่กลับเป็นเอกพจน์เฉยเลย เช่น news, physics
– นามบางตัวเปลี่ยนสระภายในเพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์ เช่น men children
– และอื่นๆ อีกเรียนรู้เพิ่มเติม ⇒ การเปลี่ยนนามเอกพจน์ ให้เป็นพหูพจน์ ⇐2. สรรพนาม
- บุรุษสรรพนาม (Personal pronoun) สรรพนามที่คนไทยสับสนเพราะมี 2 ประเภท แยกชัดเจนว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกรรม
เรียนรู้เพิ่มเติม ⇒ Pronoun ที่ต้องเรียนรู้ ⇐3. คุณศัพท์
- แปลงร่างได้ สามแบบ คือ ขั้นปกติ ขั้นกว่า ขั้นสูงสุด และมีหลักเกณฑ์แยกย่อยไปอีกว่าทำยังไงให้ถูกต้องตามหลักภาษา
เรียนรู้เพิ่มเติม ⇒ การเปรียบเทียบขั้นกว่า ขั้นที่สุด ⇐4. กริยา
- สุดยอดของหัวใจวายากรณ์ สุดยอดแห่งความยาก (สำหรับนักเรียนส่วนใหญ่ เพราะขี้เกียจจำ)
- กริยาหนึ่งตัวแปลงร่างได้หลากหลายเช่น go goes going went gone ทั้งหมดที่เห็นนี้แปลว่า ไป แต่ไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเอาไปใช้ Tense อะไร
- กริยาแต่ละ Tense มีหน้าตาไม่เหมือนกันเลย หรือมีเหมือนกันบ้าง
เรียนรู้เพิ่มเติม ⇒ กริยา 3 ช่อง ⇐เรียนรู้เพิ่มเติมสุดยอดไวยากรณ์ ⇒ Tense ⇐
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ต้องเรียนให้เข้าใจ เพราะเป็นหัวใจของหลักภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง เดี๋ยวครูจะพาลุยด่าน 18 อรหันต์เองครับ รับรองไม่ยากหรอกไวยากรณ์หน่ะ
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น